เคลือบแก้ว คืออะไร แล้วมันดียังไงกันนะ

คนที่มีรถและรักรถก็คงเคยได้ยินและพอจะรู้จักกันบ้างว่า การเคลือบแก้ว คืออะไร สำหรับวันนี้เราจะมาให้ข้อมูลเรื่องของการเคลือบแก้วรถยนต์แบบเบื้องต้นว่า เคลือบแก้วมันคืออะไร กันนะ ? ทำไมเราจะต้องเคลือบแก้วด้วย แล้วจำเป็นไหมที่รถทุกคันจะต้องเคลือบแก้ว และเคลือบแก้วจำเป็นไหมกับรถของเรา และเคลือบสีกับเคลือบแก้ว อะไรดีกว่าเป็นคำถามที่หลายคนยังคงสงสัยกันอยู่จนถึงตอนนี้ เอาล่ะเรามาค่อย ๆ ทำความรู้จักกับการเคลือบแก้วกันดีกว่า

เคลือบแก้ว คืออะไร ? เคลือบแก้ว คือ การนำสารเคมีที่ใช้เป็นสารตั้งต้นในการ ผลิตแก้วอย่าง SiO2 หรือ ซิลิก้ามาใช้ เคลือบผิวรถบนชั้นแลคเกอร์ หรือ Clearcoat นั่นเองเพื่อให้ได้คุณสมบัติความแข็งและทนเคมีของสารตั้งต้นอย่าง SiO2 หรือ ซิลิก้า ในด้านความแข็งแรงกว่าแก้วทั่วไป ของการเรียงตัวของอะตอมหรือโมเลกุล รวมถึงทนเคมีทนความร้อน  และยึดเกาะอย่างคงทนถาวรยาวนาน ( Permanent ) มากกว่าการเคลือบสี เคลือบ Wax ทั่วไป

เริ่มต้นกับการทำความรู้จัก เคลือบแก้ว หรือ Glass Coating คืออะไร ?

การเคลือบ หรือ Coating หมายถึง การฉาบผิว การห่อหุ้ม นั่นเอง!

แก้ว คือ ภาชนะที่ใช้กินน้ำ บางคนมองถึงเนื้อของ สสาร ที่ให้คุณลักษณะเป็นความมันวาว ซึ่งจริงๆแล้วแก้ว คือ การนำสารอนินทรีย์ มาหลอมละลายด้วยความร้อนและขึ้นรูปด้วยความเย็น จนเป็นภาชนะ แต่ก็มีข้อเสียตรงความแข็งแรงน้อยและแตกหักง่าย เพราะด้วยความที่การขึ้นรูปทำโดยเปลี่ยนอุณภูมิอย่างรวดเร็วทำให้โมเลกุล ไม่มีเวลาเรียงตัวกัน ทำให้ไม่แข็งแรง และแตกหักง่ายนั่นเอง

จากนั้นได้มีการพัฒนาแก้ว กันอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น แก้วเซรามิก เป็นการนำสารในกลุ่ม เซรามิก (Traditional Ceramics หรือ Engineering Ceramics) โดยทั่วไปนิยมนำสารตั้งต้นอย่าง ซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2-silicon dioxide หรือชื่อเล่นของมันก็ที่เรารู้จักกันก็ “ซิลิก้าในกลุ่ม Traditional Ceramics )  มาเป็นสารตั้งต้นและให้ความร้อนและขึ้นรูปด้วยวิธีที่ทันสมัยขึ้น จนทำให้แก้วแข็งแรงขึ้น ด้วยความที่โมเลกุลเรียงตัวกันแน่นขึ้นเป็นระเบียบขึ้น

หรือแก้วคริสตัล แก้วไทเทเนียมที่ ที่มีพัฒนาการให้ความร้อนและการขึ้นรูปรวมถึงการเติมตะกัว เติมตะกั่ว (จากวัตถุดิบเช่น ลิธาจ;Litharge) และกลายเป็น PbO หรือเติม TiO2 เพื่อให้แก้วหนักขึ้น และได้เนื้อแก้วยืดหยุ่นเหนียวและแวววาว ก็เช่นกัน

ตัวอย่าง โครงสร้างพันธะ ของ SiO2 หรือ Quartz

หลังจากได้รู้จักกับความหมายของคำว่า เคลือบ และคำว่า แก้ว แล้วเราคงพอสรุปได้กับคำถามที่ว่า Glass Coating “เคลือบแก้ว คืออะไร

เคลือบแก้ว คืออะไร เคลือบแก้วก็คือ การนำสารเคมีที่ใช้เป็นสารตั้งต้นในการ ผลิตแก้วอย่าง SiO2 หรือ ซิลิก้ามาใช้ เคลือบผิวรถบนชั้นแลคเกอร์ หรือ Clearcoat นั่นเองเพื่อให้ได้คุณสมบัติความแข็งและทนเคมีของสารตั้งต้นอย่าง SiO2 หรือ ซิลิก้า ในด้านความแข็งแรงกว่าแก้วทั่วไป ของการเรียงตัวของอะตอมหรือโมเลกุล รวมถึงทนเคมีทนความร้อน  และยึดเกาะอย่างคงทนถาวรยาวนาน ( Permanent ) มากกว่าการเคลือบสี เคลือบ Wax ทั่วไป

ส่วนพวกเคลือบคริสตัล เคลือบไทเทเนียม ทั้งหลายก็อาศัยการผสมสารต่างๆ เช่นตะกั่ว, ลิธาจ,ไทเทเนียม เหล่านี้เพิ่มเข้าไปเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็น เคลือบคริสตัล Crystal coating ,เคลือบไทเทเนียม Titanium coating หรือบางคนอาจ จะใช้เหตุที่ SiO 2 ( ซิลิก้า ) ที่ใช้ผลิตแก้ว จัดเป็นสารตัวหนึ่งในกลุ่มเซรามิกดั้งเดิม (Traditional Ceramics ) มาเรียกน้ำยาเคลือบแก้วดังกล่าวว่า เคลือบเซรามิค Ceramic coating ก็ได้และไม่ผิด

ซึ่งเหล่านี้ก็แล้วแต่ใครจะเอามาทำการตลาด ในรูปแบบ ไหนให้น่าสนใจ ตามแต่ละเทคนิคการขายของแต่ละร้าน แต่ต้องบอกว่าหากน้ำยา เคลือบแก้วที่ใช้ยังคงมีสารตั้งต้นเป็น ซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2-silicon dioxide หรือ “ซิลิก้า” ) ล้วนให้ผลลัพท์หรือประโยชน์ที่ไม่ต่างกันในความเป็นจริงตามคุณสมบัติของสารตั้งต้น ส่วนจะต่างกันก็เพียงมุมการตลาดเท่านั้น แต่ไม่นับรวมพวกน้ำยาเคลือบเซรามิก หรือเรียกให้เข้าใจง่ายว่าน้ำยาเคลือบแก้ว ที่ไม่ได้ผลิตจากซิลิก้ ไม่ว่าจะเป็นพวก สารเคลือบผิวยานอวกาศ พวก SiC ( ซิลิกอน คาร์บาย ) ที่มีค่าความแข็งและทนเคมีกรดด่างและความร้อนสูงกว่า SiO2 หรือพวก Boron Nitride หรือ ไทเทเนียม บางตัวที่ ใช้เคลือบ วัสดุอุตสาหกรรม ที่มีคุณสมบัติของสารตั้งต้นที่ต่างกัน จะไม่จัดอยู่ในกลุ่มที่ถูกเรียกว่า Glass coating ด้วยเหตุทั้งคุณสมบัติและสารตั้งต้นที่ใช้ผลิตนั่นเอง แต่จะถูกเรียกได้เพียง เคลือบเซรามิก Ceramic coating เท่านั้น ไม่สามารถเรียกว่า เคลือบแก้ว Glass coating ได้ ด้วยคุณสมบัติและราคาของสารประกอบที่ไม่ได้เหมือนสารที่ใช้ผลิตแก้ว อย่าง ซิลิก้า (SiO2 ) อย่างสิ้นเชิง

แนะนำให้อ่านบทความ เคลือบแก้วและเคลือบเซรามิก แตกต่างกันอย่างไร ?

ประโยชน์ของ เคลือบแก้ว( Glass Coating ) เคลือบเซรามิค ( Ceramic Coating )

เคลือบคริสตัล เคลือบไทเทเนียม หรือจะเรียกใดๆ ก็ตามมีประโยชน์ค่อนข้างหลายประการแต่ทั้งนี้ อาจจะแตกต่างกันด้านผลที่ออกมาอาจจะดีเสียกว่ากันในบางข้อ ตามคุณสมบัติของสารตั้งต้น ที่ใช้ผลิตน้ำยาเคลือบนั้นๆ โดยประโยชน์หลักๆ ของ เคลือบแก้ว มีประโยชน์ ดังนี้

  1. ให้ความเงาใส ที่ติดทนยาวนานกว่าการเคลือบสีทั่วๆไป ( Permanent Glossy)
  2. ให้ความปกป้อง เคมี ต่างๆที่จะทำให้สีรถ เกิดความเสียหายไม่ว่าจะ กรดหรือด่าง ( Chemical Resistant )
  3. เป็นรอยยากขึ้นจากผิวรถเดิม 2-4 เท่าเมื่อเทียบกับผิวแลคเกอร์เดิมโรงงานและบางแบรนด์ มีคุณสมบัติ ฟื้นฟูรอยขนแมวที่ไม่ลึกมากได้เองด้วยความร้อนเหมือนการ ติดสติ๊กเกอร์กันรอย ( Self Healing )
  4. เปื้อนยาก และล้างง่าย ( Self Cleaning )
  5. น้ำและสิ่งสกปรกมักวิ่งเป็นเม็ดกลมๆ เหมือนน้ำบนใบบัว ซึ่งข้อนี้ต้องบอกว่าเป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย เนื่องจากหากรถวิ่ง น้ำและสิ่งสกปรกมักหลุดออกจากตัวรถโดยง่าย แต่หากรถจอดนิ่งๆ เฉยๆ มักมีมวลน้ำเป็นก้อนกลมๆ เตรียมไหลออกอยู่บนผิวรถ และหากเจอแดดเผาอาจจะทำให้เกิดคาบน้ำบนผิวชั้นเคลือบแก้วได้
  6. การยึดเกาะของชั้นเคลือบที่ให้ความเงาและปกป้องที่ยาวนาน ราว 3-7 ปีแล้วแต่ยี่ห้อที่ใช้

ทั้งนี้ยังมีคุณสมบัติอีกมากมายที่ผู้ขายมักโฆษณา เกินจริงไม่ว่าจะเป็นการกันรอย 100% แข็งดั่งเพชร หรือไม่ต้องล้างรถด้วยแชมพูอีกต่อไป ซึ่งล้วนเป็นการโฆษณาที่เกินจริงซึ่งอาจเกิดจากความเข้าใจผิดของผู้ขายหรือ อยากขายมากเกินไป ผู้บริโภคเองก็ควรใช้วิจารณญาณ ในการตัดสินใจทำเคลือบแก้ว กับร้านที่มีผู้เชี่ยวชาญและผ่านการศึกษาการทำ เคลือบแก้วอย่างจริงจัง มีขั้นตอนมาตรฐานในการรักษาแลคเกอร์ให้มากที่สุด รวมถึงหาน้ำยาเคลือบแก้วที่มีคุณสมบัติที่ดี และเป็นที่ยอมรับในสากลประหนึ่งเรากำลังเลือกเครื่องสำอางใช้กับหน้าเรานั่นเอง

บริการของเรา

เคลือบแก้ว เคลือบเซรามิก
เคลือบสีพรีเมียม
ทำความสะอาดภายใน
ขัดสีแบบเต็มระบบ
ล้างสีแบบมาตรฐาน

ช่องทางติดต่อ

หากท่านมองหา Car Detailing หรือร้านล้างรถและเคลือบแก้ว เคลือบเซรามิก
เชิญมาสัมผัสบริการที่เป็นที่สุดที่ Wash A Matter